บริการขนส่งโลจัสติกส์อย่างครบวงจร

เว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างการให้บริการในธุรกิจโลจิสติกส์ ไม่มีการดำเนินการจริงแต่อย่างใด ข้อความ และรูปภาพต่างๆ นำมาจากใน internet และได้อ้างอิงถึงเนื้อหาไว้เรียบร้อยแล้ว และขอบคุณสำหรับรูปภาพ และเนื้อหาบทความต่างๆ
  • บริการนำสินค้าเข้าอย่างเดียว
  • บริการสั่งซื้อสินค้า และนำเข้า
  • บริการส่งออกสินค้าไปจีน
รายการทั้งหมด

ทีมงาน และบรรยากาศ

PROJECT MANEGER

คุณเกสร เธอแม่นทุกตารางงาน ไม่พลาดการส่งมอบงาน ตรวจงานละเอียด เนียบที่สุด

SALES COORDINATOR

คุณไกรลาส ผู้ประสานงานที่ตามใจลูกค้าได้ทุกอย่าง ลดราคาได้ ลดเลย

COORDINATOR

คุณนิศรา ประสานงานกับลูกค้า ขนส่ง ได้อย่างรวดเร็ว ไม่พลาดทุกการติดตามพัสดุ

VDO
Praesentation

สนใจติดต่อทีมงานมืออาชีพ พร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง

รีวิวลูกค้าจริง K-LOGISTICS

ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่รีวิวให้ ทางเราจะพัฒนาการให้บริการดียิ่งขึ้นค่ะ

คุณจ๊อบ

" ขนส่งที่นี่บริการรวดเร็ว ส่งสินค้าไว สินค้าไม่ชำรุดหรือสูญหายระหว่างทาง "

26 พ.ย. 2558

คุณส้ม

" เลือกใช้บริการขนส่งที่นี่เพราะจัดส่งรวดเร็ว ราคาถูก พนักงานจัดส่งสุภาพ "

10 ม.ค. 2563

คุณจุ้ย

" ส่งไวมากค่ะ วันเดียวได้ ถูกและดี ไม่มีบุบของครบถ้วนค่ะ โดยรวมแล้วชอบค่ะ "

26 พ.ย. 2558

LOGISTICS TRANSPORT

เว็บไซต์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างการให้บริการในธุรกิจโลจิสติกส์ ไม่มีการดำเนินการจริงแต่อย่างใด ข้อความ และรูปภาพต่างๆ นำมาจากใน internet และได้อ้างอิงถึงเนื้อหาไว้เรียบร้อยแล้ว และขอบคุณสำหรับรูปภาพ และเนื้อหาบทความต่างๆ

ค่า LSS คือค่าอะไร?

Low Sulphur Surcharge (LSS) หมายถึง ค่าธรรมเนียมเชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ โดยทางองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ประกาศใช้มาตรการลดการบังคับให้เรือทุกลำต้องใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไม่เกิน 0.5% จากเดิมที่กำหนดไว้ระดับ 3.5% เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2563 ตามประกาศ Low Sulphur Regulation 2020 ของ International Maritime Organization (IMO) ส่งผลให้สายเรือประกาศเรียกเก็บ low sulphur surcharge (LSS) เพิ่มเติมจากค่าระวางเรือ (ค่า freight) และ bunker surcharge ที่เคยเรียกเก็บอยู่เดิม รวมทั้งกำหนดอัตราการเรียกเก็บต่างกันด้วย ขึ้นอยู่กับสูตรการคำนวณที่แต่ละสายเรือกำหนด ซึ่งไม่ได้เป็นมาตรฐานกลาง

โดยกำหนดใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละสายเรือ สำหรับชื่อค่าธรรมเนียม (ชื่อเรียกต่างกัน) กำหนดออกมาแล้ว เช่น บริษัท Zim Line ใช้ชื่อ New Bunker Factor (NBF), บริษัท Hapaq-Lloyd ใช้ชื่อ Marine Fuel Rocovery (MFR) สายเรือ ONE ใช้ชื่อ ONE Bunker Surcharge (OBS) และบริษัท Wan Hai ใช้ชื่อ Wan Hai Bunker Surcharge (WBS) เป็นต้น ซึ่งหากเปรียบเทียบใน 4 เส้นทางหลัก คือ เอเชีย, สหภาพยุโรป, ตะวันออกลาง และสหรัฐอเมริกา สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้ง ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต พบว่าค่า bunker surcharge มีตั้งแต่ 9 เหรียญสหรัฐ ไปจนถึง 746 เหรียญสหรัฐ ส่วนค่า LSS มีตั้งแต่ 15 เหรียญ ไปจนถึง 382 เหรียญสหรัฐ และหากเป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบแช่เย็น ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต มีค่า bunker surcharge ตั้งแต่ 12 ไปจนถึง 822 เหรียญสหรัฐ เทียบกับค่า LSS มีตั้งแต่ 42 เหรียญ ไปจนถึง 573 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะแตกต่างกันตามขนาดของเรือ,ปริมาณตู้ และสูตรการคำนวณของแต่ละสายการเดินเรือ

การรวมการเรียกเก็บไปในค่าบังเกอร์เซอร์ชาร์จที่เก็บปกติ ทำให้อัตราการเรียกค่าน้ำมันประเภทนี้มีราคาสูง เมื่อเทียบกับการเรียกเก็บแยกเฉพาะค่า low sulphur surcharge (LSS) ซึ่งเป็นค่าเซอร์ชาร์จที่เพิ่มเติมแยกออกมาต่างหากจากค่าระวางเรือ (ค่า freight) เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมนี้กับค่าเฟรดแต่ละเส้นทาง ในตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต และ 40 ฟุต อัตราเฉลี่ยค่า LSS ต่อค่าเฟรด เพิ่มตั้งแต่ 2.86% ถึง 93.34% เส้นทางเอเชีย ในบริเวณพอร์ตปูซานสูงสุด 93.34% สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้งส่วนตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็น มีค่า LSS คิดเป็น 1.34-15%เส้นทางเอเชีย พอร์ตฮ่องกงสูงสุดที่ 15%

แหล่งที่มา : https://bit.ly/2IrQDJf
3 ก.ค. 2566

ค่า LOCAL CHARGE คืออะไร?

Low Sulphur Surcharge (LSS) หมายถึง ค่าธรรมเนียมเชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ โดยทางองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ประกาศใช้มาตรการลดการบังคับให้เรือทุกลำต้องใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไม่เกิน 0.5% จากเดิมที่กำหนดไว้ระดับ 3.5% เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2563 ตามประกาศ Low Sulphur Regulation 2020 ของ International Maritime Organization (IMO) ส่งผลให้สายเรือประกาศเรียกเก็บ low sulphur surcharge (LSS) เพิ่มเติมจากค่าระวางเรือ (ค่า freight) และ bunker surcharge ที่เคยเรียกเก็บอยู่เดิม รวมทั้งกำหนดอัตราการเรียกเก็บต่างกันด้วย ขึ้นอยู่กับสูตรการคำนวณที่แต่ละสายเรือกำหนด ซึ่งไม่ได้เป็นมาตรฐานกลาง

โดยกำหนดใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละสายเรือ สำหรับชื่อค่าธรรมเนียม (ชื่อเรียกต่างกัน) กำหนดออกมาแล้ว เช่น บริษัท Zim Line ใช้ชื่อ New Bunker Factor (NBF), บริษัท Hapaq-Lloyd ใช้ชื่อ Marine Fuel Rocovery (MFR) สายเรือ ONE ใช้ชื่อ ONE Bunker Surcharge (OBS) และบริษัท Wan Hai ใช้ชื่อ Wan Hai Bunker Surcharge (WBS) เป็นต้น ซึ่งหากเปรียบเทียบใน 4 เส้นทางหลัก คือ เอเชีย, สหภาพยุโรป, ตะวันออกลาง และสหรัฐอเมริกา สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้ง ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต พบว่าค่า bunker surcharge มีตั้งแต่ 9 เหรียญสหรัฐ ไปจนถึง 746 เหรียญสหรัฐ ส่วนค่า LSS มีตั้งแต่ 15 เหรียญ ไปจนถึง 382 เหรียญสหรัฐ และหากเป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบแช่เย็น ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต มีค่า bunker surcharge ตั้งแต่ 12 ไปจนถึง 822 เหรียญสหรัฐ เทียบกับค่า LSS มีตั้งแต่ 42 เหรียญ ไปจนถึง 573 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะแตกต่างกันตามขนาดของเรือ,ปริมาณตู้ และสูตรการคำนวณของแต่ละสายการเดินเรือ

การรวมการเรียกเก็บไปในค่าบังเกอร์เซอร์ชาร์จที่เก็บปกติ ทำให้อัตราการเรียกค่าน้ำมันประเภทนี้มีราคาสูง เมื่อเทียบกับการเรียกเก็บแยกเฉพาะค่า low sulphur surcharge (LSS) ซึ่งเป็นค่าเซอร์ชาร์จที่เพิ่มเติมแยกออกมาต่างหากจากค่าระวางเรือ (ค่า freight) เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมนี้กับค่าเฟรดแต่ละเส้นทาง ในตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต และ 40 ฟุต อัตราเฉลี่ยค่า LSS ต่อค่าเฟรด เพิ่มตั้งแต่ 2.86% ถึง 93.34% เส้นทางเอเชีย ในบริเวณพอร์ตปูซานสูงสุด 93.34% สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้งส่วนตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็น มีค่า LSS คิดเป็น 1.34-15%เส้นทางเอเชีย พอร์ตฮ่องกงสูงสุดที่ 15%

แหล่งที่มา : https://bit.ly/2IrQDJf
3 ก.ค. 2566

หากต้องการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าต้องเริ่มต้นอย่างไรดี?

หากต้องการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าต้องเริ่มต้นอย่างไรดี?

ขั้นตอนนำเข้าและส่งออก เมื่อเริ่มต้นซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศไม่ว่าจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้าอะไร ผ่านเส้นทางไหน ก็จะต้องผ่านทั้ง 8 ขั้นตอนเหล่านี้มาดูกันว่าแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงปลายทางมีอะไรบ้าง
เมื่อตกลงการสั่งซื้อหรือขายสินค้าแล้ว ทางฝ่ายผู้ขายก็จะต้องเริ่มจากผลิตสินค้าให้หรือเตรียมสินค้าในโกดังให้พร้อมจัดส่ง ขั้นตอนการส่งออกสินค้าก็จะมีดังนี้

1. เริ่มนำเข้าส่งออกที่โรงงานผู้ขาย
จุดแรกของการนำเข้าส่งออกการขนส่งย่อมไม่พ้นผู้ขายหรือผู้ผลิตไปได้ ซึ่งในจุดนี้ส่วนใหญ่เรามักจะเรียกมันว่า “หน้าโรงงาน” ในภาษาไทย หรือ “Shipper” ในภาษาอังกฤษครับ ทั้งนี้ที่เรียกว่าโรงงานก็เพื่อความสะดวกในการเรียก ถึงแม้จะเป็นร้านเล็ก ๆ หรือโกดังเก็บสินค้าก็ตาม ส่วน Shipper นั้นจะใช้เวลาคุยกับชาวต่างชาติเพราะแปลตรงตัวว่าผู้ส่งออกหรือผู้ขาย ก็อนุมานกันได้เลยว่าที่จะไปรับสินค้านั่นแหละ หรือใครจะใช้คำอย่างอื่น เช่น โรงงาน Factory, โกดัง Warehouse หรือ ร้าน Shop ตามความเข้าใจ แต่ขอให้เข้าใจตรงกันว่าสินค้าจะเริ่มต้นออกเดินทางจากที่ที่นั่น

2. การขนส่งในประเทศต้นทาง
เมื่อตกลงซื้อขายกันเสร็จสิ้นแล้วสินค้าจะถูกบรรจุและแพ็คกิ้งขึ้นรถบรรทุกเพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ/ท่าอากาศยานต่างๆ แล้วจึงถ่ายโอนสินค้าต่อไปยังทางเรือหรือทางเครื่องบินเพื่อจัดส่งออกไปยังประเทศปลายทาง เรียกว่า Trucking, Pick-up, Inland หรือ Inland freight

3. การทำพิธีการศุลกากรขาออก
ในขั้นตอนนี้ผู้ขาย(Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) ที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้จะมีหน้าที่ในการสำแดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร(Customs House) ว่าสินค้าอะไรจะออกจากประเทศนั้น จุดนี้ภาษาเฟรทเรียกว่า Outbound Customs Clearance และปกติแล้วขั้นตอนนี้จะกินเวลาไม่นาน หากไม่เจอปัญหาอะไร

4. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง
เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยสินค้าแล้ว สินค้าก็จะได้รับอนุญาตให้เอาขึ้นเรือหรือเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้เพื่อขนส่งออกจากประเทศผู้ขาย ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Loading(POL) แต่ไม่ใช่ว่าทำพิธีการเสร็จแล้วเรือหรือเครื่องบินจะออกทันที ยังต้องมีการผ่านกระบวนการในท่าฯอีกพอสมควร ขึ้นอยู่กับกฏข้อบังคับต่างๆของท่าเรือท่าอากาศยานของแต่ละประเทศด้วย

5. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานปลายทาง
เมื่อสินค้าได้เดินทางมาถึงยังประเทศของผู้ซื้อแล้ว จุดนี้เมื่อเรือหรือเครื่องบินจอดเทียบท่าแล้ว สินค้าจะถูกลำเลียงเข้าโกดังไว้ รอให้ผู้ซื้อหรือตัวแทนออกของและศุลกากรมาตรวจปล่อยสินค้าต่อไปครับ ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Discharge(POD)

6. พิธีการศุลกากรสินค้าขาเข้า
เจ้าพนักงานศุลกากรจะมาตรวจสินค้าที่ผู้ซื้อนำเข้ามาว่าสินค้าที่คุณนำเข้ามาตรงกับที่ได้แจ้งกับกรมศุลกากรไว้หรือไม่ เสียภาษีตรงกับฐานภาษีที่กรมศุลกากรกำหนดหรือไม่ เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรเมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็ขนออกจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานได้เลย จุดนี้คือ Inbound Customs Clearance

7. ขนส่งจากท่าเรือ
สินค้าที่ตรวจปล่อยแล้วก็ขนไปยังผู้รับ การขนส่งทางรถในประเทศไทยนั้นมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ากระบะด้วย โดยจำง่าย ๆ ว่าในช่วงจราจรคับคั่งตอนพนักงานเข้างานและเลิกงานคือช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมือง
รถบรรทุกสามารถวิ่งเวลาไหนได้บ้าง? : http://www.lissom-logistics.co.th/articles-details.php?id=35

8. ผู้ซื้อ
ตอนนี้ขั้นตอนสุดท้ายคือ ผู้ซื้อ(Consignee) ทำการรับสินค้า ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจขนส่งสินค้า ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะรับมอบสินค้า ผู้ซื้อที่ดีควรจะตรวจดูความเรียบร้อยของสินค้าก่อนทำการรับมอบทุกครั้ง
ผ่านไปแล้วทั้ง 8 จุดที่คุณควรจะเข้าใจก่อนทำการนำเข้าหรือส่งออก ในการขนส่งแต่ละประเทศก็จะมีเวลาในการขนส่งไม่เท่ากันแต่ขั้นตอนก็จะอยู่ใน 8 ข้อนี้อย่างแน่นอน

แหล่งที่มา : https://bit.ly/2INl5hb
3 ก.ค. 2566

ติดต่อเรา

71/2-13 โครงการโอโซนพลาซ่า ห้อง H1C,H2C ถนนคู้บอน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงทพฯ 10230

Our Phone

Facebook

Our Line

ส่งข้อความหาเรา

ลูกค้าสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการสอบถามได้จากฟอร์มด้านล่าง เมื่อทีมงานได้รับข้อความแล้ว จะติดต่อกลับลูกค้าโดยเร็วที่สุด